เมนู

อยู่ในกุรุธรรมแล้ว. ศีล 5 ชื่อว่ากุรุธรรม. พระโพธิสัตว์ทรงรักษาศีล 5
นั้น ทำให้บริสุทธิ์. พระชนนี พระอัครมเหสี พระอนุชา อุปราช
พราหมณ์ปุโรหิต อำมาตย์ผู้ถือเชือก1 นายสารถี เศรษฐี มหาอำมาตย์
ผู้เป็นขุนคลัง2 คนรักษาประตู นางวรรณทาสี3 ผู้เป็นหญิงงามเมือง
ของพระโพธิสัตว์นั้น ย่อมรักษาศีล 5 เหมือนพระโพธิสัตว์ ด้วยประการ
ฉะนี้.

แคว้นกาลิงคะเกิดฝนแล้ง


เมื่อชนทั้ง 11 คนนี้ รักษากุรุธรรมอยู่อย่างนั้น, เมื่อพระราชา
ทรงพระนามว่ากาลิงคะ เสวยราชสมบัติอยู่ในพระนครทันตบุรี ในแคว้น
กาลิงคะ ฝนมิได้ตกในแคว้นของพระองค์แล้ว . ก็ช้างมงคล ชื่อว่าอัญ-
ชนาสภะของพระมหาสัตว์ เป็นสัตว์มีบุญมาก. ชาวแคว้นพากันกราบทูล
ด้วยสำคัญว่า " เมื่อนำช้างนั้นมาแล้ว ฝนจักตก."
พระราชาทรงส่งพวกพราหมณ์ไป เพื่อต้องการนำช้างนั้นมา.
พราหมณ์เหล่านั้นไปแล้ว ทูลขอช้างกะพระมหาสัตว์แล้ว. เพื่อจะทรง
แสดงอาการขอนี้ของพราหมณ์เหล่านั้น พระศาสดาจึงตรัสชาดก4ในติก-
นิบาตนี้เป็นต้นว่า :-
" ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นใหญ่แห่งชน ข้าพระพุทธ-
เจ้าทั้งหลาย ทราบศรัทธาและศีลของพระองค์แล้ว
ขอพระราชทานแลกทองด้วยช้าง ซึ่งมีสีดุจดอกอัญ-
ชัน ไปในแคว้นกาลิงคะ."

1. พนักงานรางวัด. 2. โทณมาปโก ผู้ตวงวัตถุด้วยทะนาน. โทณะหนึ่งเท่ากับ 4 อาฬหก.
3. หญิงคนใช้รูปงาม 4. ขุ. ชา. 27/ข้อ 427. กุรุธรรมชาดก. อรรถกถา. 4/ 119.

ก็เมื่อพราหมณ์ทั้งหลายนำช้างมาแล้ว, เมื่อฝนไม่ตก, ด้วยทรง
สำคัญว่า "พระราชานั้นทรงรักษากุรุธรรม; เพราะฉะนั้น ฝนจึงตกใน
แคว้นของพระองค์" พระเจ้ากาลิงคะ จึงทรงส่งพวกพราหมณ์และอำมาตย์
ไปอีก ด้วยพระดำรัสว่า " พวกท่านจงจารึกกุรุธรรมที่พระราชานั้นรักษา
ลงในแผ่นทองคำแล้วนำมา." เมื่อพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นไปทูลขอ
อยู่, ชนเหล่านั้นแม้ทั้งหมด นับแต่พระราชาเป็นต้น กระทำอาการสักว่า
ความรังเกียจบางอย่างในศีลทั้งหลายของตน ๆ แล้ว ห้ามว่า " ศีลของ
พวกเราไม่บริสุทธิ์ " ถูกพราหมณ์และอำมาตย์เหล่านั้นอ้อนวอนหนักเข้า
ว่า " ความทำลายแห่งศีล หาได้มีด้วยเหตุเพียงเท่านี้ไม่" จึงได้บอกศีล
ทั้งหลายของตน ๆ แล้ว.

พระเจ้ากาลิงคะทรงรักษากุรุธรรมฝนจึงตก


พระเจ้ากาลิงคะ ได้ทอดพระเนตรกุรุธรรมที่พวกพราหมณ์และ
อำมาตย์จารึกลงในแผ่นทองคำนำมา ทรงสมาทานบำเพ็ญให้บริบูรณ์ด้วย
ดี. ฝนจึงตกในแคว้นของพระองค์, แว่นแคว้นได้เกษม มีภิกษาหาได้
โดยง่ายแล้ว.
พระศาสดาครั้นทรงนำอดีตนิทานนี้มาแล้ว ทรงประชุมชาดกว่า:-
" หญิงแพศยาในครั้งนั้น ได้เป็นนางอุบลวรรณา,
คนรักษาประตู ได้เป็นภิกษุชื่อว่าปุณณะ, อำมาตย์ผู้
ถือเชือก ได้เป็นกัจจานภิกษุ, และอำมาตย์ผู้เป็น
ขุนคลัง ได้เป็นโกลิตะ, เศรษฐีในครั้งนั้น ได้เป็น
สารีบุตร, นายสารถี ได้เป็นอนุรุทธะ, พราหมณ์